ตรวจสอบระบบไฟฟ้าและงานบำรุงรักษาประจำปี

งานตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า ของอาคารและโรงงานอุตสาหกรรมตามประกาศของกฎหมายโดยวิศวกรไฟฟ้า รับตรวจสอบ และรับรองมาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ติดตั้งใช้งานภายในโรงงาน ประจำปี ตาม ที่กฎหมายได้กำหนดต้องมีผู้ตรวจสอบ และรับรองมาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ติดตั้งใช้งานภายในโรงงาน ซึ่งกำหนดต้องเป็นระดับวิศวกร และต้องมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง โดยวิศวกร ระดับ ภาคีวิศวกร สามัญวิศวกร (สฟก.) พร้อมออกเอกสารรับรองระบบไฟฟ้า+เซ็นสำเนาใบกว. ภาคีวิศวกร สามัญวิศวกรไฟฟ้า เพื่อยื่นแก่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม และ กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน ประจำปี

ตรวจสอบระบบไฟฟ้า เป็นการตรวจสอบเพื่อรับรองความปลอดภัยระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมหรืออาคาร ว่าชำรุดเสียหายหรือมีความเสี่ยงจะเกิดปัญหาโดยอ้างอิงจาก มาตรฐาน ว.ส.ท เป็นหลัก แนวทางตรวจสอบประกอบด้วย 3 ข้อ

1.การตรวจพินิจ (Inspection) หมายถึง การตรวจสอบการติดตั้งทางไฟฟ้าโดยใช้ความสามารถในการพินิจพิเคราะห์เพื่อให้แน่ใจว่ามีการเลือก และติดตั้งบริภัณฑ์ไฟฟ้าอย่างถูกต้อง
2.การทดสอบ (Testing) หมายถึง การใช้มาตรการ เพื่อประมวลผลการติดตั้งทางไฟฟ้าโดยใช้วิธีการที่มีประสิทธิผล และสามารถพิสูจน์ได้รวมถึงการใช้เครื่องมือวัดที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ค่าซึ่งปกติไม่สามารถได้จากการตรวจพินิจ
3.การรายงานผล (Reporting) หมายถึง การบันทึกผลของการตรวจพินิจและการทดสอบ ตรวจสอบหม้อแปลง
- ตรวจสภาพหม้อแปลงภายนอก เช่น ตรวจเช็คการรั่วซึมของน้ำมันหม้อแปลง,สารกรองความชื้น ซิลิก้าเจล (Siliga Gel) - ตรวจเช็ค Drop Fuse, ลูกถ้วย Bushing, HV-LV Volte ด้วยกล้องอินฟาเรด เทอร์โมสแกน
- ตรวจเช็ค สายดิน และหลักดิน การต่อลงดิน ส่วนที่เป็นโครงโลหะ ใช้เครื่อง วัดความต้านทานดิน (Earth Ground tester) โดยค่ามาตรฐานตาม ว.ส.ท สายดินต้องไม่เกิน 5 โอห์ม ตรวจสอบตู้เมนไฟฟ้า ตู้ไฟฟ้าย่อย
- มาตรฐานการติดตั้ง,การเดิน ต่อสาย,เบรกเกอร์, Capacitor Blank
- ตรวจเช็คขั้วต่อสาย, ความร้อนสาย, การจัดกระแส (Balance Fase) ด้วยกล้องอินฟาเรด เทอร์โมสแกน
- ตรวจสอบขั้วไฟฟ้า เพื่อทดสอบว่าอุปกรณ์สวิตช์ชนิดขั้วเดียวทั้งหมดมีการต่อเฉพาะในตัวนำเส้นไฟเท่านั้น ขั้วรับหลอดไฟแบบเกลียว มีการต่อเกลียวด้านนอกกับตัวนิวทรัล และ การเดินสายไปยังเต้ารับและอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ ที่คล้ายกัน มีการต่อขั้วที่ถูกต้อง
-แรงดันตกเพื่อสอบการติดตั้งว่าแรงดันตก เป็นไปตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ มาตรฐาน NEC กำหนดแรงดันตกดังนี้
1. แรงดันตกจากสายประธานจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า (Load) ไม่เกิน 5%
2. แรงดันตกในสายป้อน (Feeder) ไม่เกิน 2%
3. แรงดันตกในวงจรย่อย ไม่เกิน 3%
-ตรวจสอบระบบป้องกันฟ้าผ่า โดยค่ามาตรฐานตาม ว.ส.ท สายดินต้องไม่เกิน 10 โอห์ม โดยใช้เครื่องวัดความต้านทานดิน (Earth Ground tester)