ตรวจสอบหม้อไอน้ำและภาชนะรับแรงดัน

เราให้บริการงานตรวจสอบและรับรอง ภาชนะรับแรงดัน ในงานอุตสาหกรรมตามมาตรฐานและข้อกำหนดของโรงงานอุตสาหกรรม

หลักเกณฑ์ในการตรวจทดสอบ รายการตรวจสอบหม้อไอน้ำ และหม้อน้ำมันร้อน
1 ตรวจสอบภายนอก
1.1 ตรวจสอบฉนวนกันความร้อน
1.2 ตรวจสอบระบบท่อต่าง ๆ เช่นท่อสตีม ท่อน้ำป้อน ท่อเชื้อเพลิง และปล่องไอเสีย
1.3 ตรวจเช็คอุปกรณ์ตรวจวัดต่าง ๆ อาทิเช่น เกจวัดแรงดันน้ำ เกจวัดแรงดันสตีม เกจวัดแรงดันเชื้อเพลิง
1.4 ตรวจเช็คอุปกรณ์ความปลอดภัยต่าง ๆอาทิเช่น สวิทซ์แรงดัน เครื่องวัดอุณหภูมิปล่อง
1.5 ตรวจเช็คจุดยึดต่าง ๆ
1.6 ตรวจเช็คระยะต่าง ๆของบอยเลอร์ร่วมทั้งอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยและทางออกฉุกเฉิน
2 ตรวจสอบภายใน
2.1 ตรวจตะกรันด้านล่างห้องบอยเลอร์
2.2 ตรวจเช็คความผิดปกติของท่อไฟใหญ่และวัดความหนาเพื่อคำนวณหาความสามารถในการรับแรงดัน
2.3 ตรวจเช็คความผิดปกติของท่อไฟเล็กและวัดความหนาเพื่อคำนวณหาความสามารถในการรับแรงดัน
2.4 ตรวจเช็คเหล็กยึดโย่งในห้องบอยเลอร์
2.5 ตรวจเช็คผนังบอยเลอร์และวัดความหนาเพื่อคำนวณหาความสามารถในการรับแรงดัน
2.6 ตรวจเช็คหาความผิดปกติของฝาเตาหน้าหลัง
2.7 ตรวจเช็คอิฐทนไฟและฉนวนทนไฟต่าง ๆ
2.8 ตรวจเช็คพัดลมและถ้วยเชลามิคของหัวเผา
2.9 ตรวจเช็คความผิดปกติของหัวเผา
3 ตรวจสอบระบบป้องกันบอยเลอร์
3.1 ตรวจทดสอบเครื่องควบคุมระดับน้ำในสตีมดัม ระดับน้ำในดัมต่ำมาก บอยเลอร์ต้องหยุดการทำงาน
3.2 ตรวจทดสอบแรงดันในระบบท่อแรงดันเมื่อแรงดันเกินกำหนด บอยเลอร์ต้องหยุดการทำงาน
3.3 ตรวจทดสอบเครื่องตรวจวัดความร้อนเมื่ออุณหภูมิเกินกำหนด ระบบจ่ายเชื้อเพลิงต้องหยุดการทำงาน
3.4 ตรวจทดสอบเปลวไฟในห้องเผาไหม้ถ้าเกิดเครื่องตรวจวัดตรวจจับไม่ได้บอยเลอร์ต้องหยุดการทำงาน
3.5 ตรวจทดสอบเมื่อปั้มน้ำป้อนไม่ทำงานหรือหยุดทำงาน บอยเลอร์ต้องหยุดการทำงานเช่นกัน
3.6 ตรวจทดสอบเมื่อระดับน้ำในถังในป้อนสำรองตำกว่าเกณฑ์กำหนด ปั้มน้ำป้อนต้องหยุดทำงาน
4 ขั้นตอนการตรวจสอบ
4.1 ตรวจเช็คสมุดบันทึกรายงานต่างๆของบอยเลอร์และค่าน้ำป้อน
4.2 หยุดหม้อไอน้ำและเปิดผาเพื่อตรวจเช็คข้างในโดยไม่ต้องทำความสะอาดก่อนตรวจ
4.3 ตรวจภายในทั้งหมดตามหัวข้อ 2 และตรวจภายนอกตามหัวข้อ 1
4.4 การตรวจทดสอบความดันด้วยการอัดน้ำประจำปี (Annual Hydrostatic Test)
- ต้องทำการอัดน้ำที่ความดันไม่ต่ำกว่า 1 เท่าหรือไม่เกิน 1.25 เท่าของความดันอนุญาตให้ ใช้งานสูงสุด (MAWP) และต้องมีการตรวจสอบการรั่วซึมโดยในการนี้ให้คงความดันไว้จนกว่าการตรวจสอบการรั่วซึมจะแล้วเสร็จ - หากไม่ทราบข้อมูลความดันอนุญาตให้ใช้งานสูงสุด (MAWP) ให้อัดน้ำทดสอบที่ความดันไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของความดันใช้งานสูงสุด Maximum Working Pressure หรือ MWP) และคงความดันไว้ไม่น้อยกว่า 30 นาทีเพื่อตรวจสอบการรั่วซึมในส่วนต่าง ๆ - โดยน้ำที่ใช้อัดทดสอบหม้อไอน้ำต้องมีอุณหภูมิไม่เกิน 49℃
4.5 ตรวจทดสอบระบบไฟฟ้าควบคุมหรือระบบป้องกันบอยเลอร์ตามข้อที่ 3
4.6 ตรวจเช็คเปลวไฟในห้องเผาไหมและการรั่วซึมของฝาเตาและตรวจเช็คอุณหภูมิบอยเลอร์
4.7 ตรวจทดสอบ Safety valve ตามกฎหมายกำหนด
4.8 ตรวจสอบความเรียบร้อยทั้งหมดของบอยเลอร์
ตรวจสอบภาชนะรับแรงดัน
ภาชนะรับแรงดัน ตามความหมายของกฎกระทรวงอุตสาหกรรม คือ "ภาชนะปิดที่มีความกดดันภายในภาชนะและภายนอกภาชนะแตกต่างกันมากกว่า 1.5 เท่าของความดันบรรยากาศที่ระดับน้ำทะเลและมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 103 มิลลิเมตร" บางคนอาจจะสงสัยกับความหมายที่ต้องตีความกันกว่าตกลงอุปกรณ์ที่ใช้อยู่ต้องตรวจหรือไม่ พิจารณาที่แรงดันและขนาดความดันบรรยากาศที่ระดับน้ำทะเลเท่าไรประมาณ 1 บรรยากาศ หรือ 1 atm( atmosphere) หรือเรียกว่า 1 บาร์ (bar) ถ้าอุปกรณ์ที่ต้องตรวจก็ต้องเป็นภาชนะที่ใช้แรงดัน 1.5 bar ขึ้นไปและมีขนาด 103 mm. ส่วนใหญ่ภาชนะรับแรงดันที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ถังลมไม่ว่าจะใช้ อากาศ หรือ ไนโตเจน ที่ใช้ในการผลิตก็เข้าข่ายการตรวจ ซึ่งถังพวกนี้มีอายุการใช้งานเนื่องจากการถูกกัดกร่อน การตรวจสอบต้องวัดความหนาถังเพราะเป็นสิ่งชี้บ่งว่ายังสามารถรับแรงดันได้อยู่หรือไม่ และอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น safety valve ซึ่งมีหน้าที่ระบายแรงดันในระบบเมื่อมีแรงดันสูงเกินค่าที่ตั้งไว้ สุดท้ายแล้วการที่จะตรวจสอบหรือไม่ตรวจสอบขึ้นอยู่กับว่าโรงงานเห็นความปลอดภัยในการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆหรือไม่เพราะถ้าเกิดเหตุแล้วก็จะมีโอกาสจะสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน