ตรวจสอบปั้นจั่นอยู่กับที่ ปั้นจั่นเคลื่อนที่ เครื่องจักรก่อสร้าง ลิฟต์ขนส่งสินค้า

เราให้บริการตรวจสอบและรับรองความปลอดภัยพร้อมทั้งออกเอกสารรับรองความปลอดภัยงานด้านเครื่องกล ระบบ เครน ปั้นจั่น รถเครน ออกเอกสารรับรอง ปจ.1 ปจ.2 โดยทีมวิศวกรระดับภาคี และสามัญวิศวกรเครื่องกลตามประกาศ กรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงานกระทรวงแรงงาน โดยทีมวิศวกรระดับภาคี และ สามัญวิศวกรเครื่องกล และมีวิศวกรควบคุมการทดสอบตลอดเวลาพร้อมถ่ายภาพวิศวกรควบคุมขณะทดสอบแนบเอกสาร แนบปจ.1 , ปจ.2 ตามกฎหมายกำหนด

ตรวจสอบเครน,ปั้นจั่น,ลิฟท์ขนส่ง ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตราฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น พศ. 2552 ให้ความหมาย " ปั้นจั่น " ไว้ว่า เครื่องจักรที่ใช้ยกสิ่งของขึ้นลงตามแนวดิ่งและเคลื่อนย้ายสิ่งของเหล่านั้นในลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบ ซึ่งหมายถึง เครน ที่เราจะกล่าวถึงในหัวข้อนี้ครับ ตามหลักเราแบ่งเครนเป็น 2 ชนิด
1 แบบเคลื่อนที่ หมายถึง รถเครน รถเฮี๊ยบ เรือเครน รถบรรทุกติดเครน
2 แบบไม่เคลื่อนที่ หมายถึง เครนหรือรอก ที่ใช้ในโรงงาน หรือสถานที่ติดเครนเพื่อยกสิ่งของ สามารถเคลื่อนที่ได้เฉพาะในรางหรือจุดที่กำหนดได้เท่านั้น

นอกจากนี้ยังมีประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานระบุประเภทการใช้งาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1 ปั้นจั่นที่ใช้ในงานก่อสร้าง
(ก) ขนาดพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนดไม่เกิน ๓ ตัน ต้องจัดให้มีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นทุก ๆ ๖ เดือน
(ข) ขนาดพิกัดยกมากกว่า ๓ ตันขึ้นไป ต้องจัดให้มีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นทุก ๆ ๓ เดือน
(ค) ที่ไม่มีรายละเอียดขนาดพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนดในการทดสอบให้นายจ้างทดสอบโดยใช้ขนาดพิกัดยกตามที่วิศวกรกำหนด
2 ปั้นจั่นที่ใช้งานอื่น ๆ
(ก) ขนาดพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนดตั้งแต่ ๑ ตัน แต่ไม่เกิน ๓ ตันต้องจัดให้มีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นปีละหนึ่งครั้ง
(ข) ขนาดพิกัดยกมากกว่า ๓ ตัน แต่ไม่เกิน ๕๐ ตัน ต้องจัดให้มีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นทุก ๆ ๖ เดือน
(ค) ขนาดพิกัดยกมากกว่า ๕๐ ตันขึ้นไป ต้องจัดให้มีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นทุก ๆ ๓ เดือน
(ง) ที่ไม่มีรายละเอียดขนาดพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ในการทดสอบให้นายจ้างทดสอบโดยใช้ขนาดพิกัดยกตามที่วิศวกรกำหนด

การตรวจสอบเครน หลักสำคัญคือ น้ำหนักทดสอบหรือเรียกว่า load test ซึ่งกฎหมายระบุไว้ว่าจะเป็นการใช้น้ำหนักจริง น้ำหนักจริง หมายถึง ตุ้มน้ำหนักที่มีน้ำหนักตามพิกัดกำหนดเพื่อใช้ในการทดสอบ เช่น ตุ้มน้ำหนัก 500 kg 1000 kg หรือสิ่งของในการผลิตที่มีน้ำหนักมากกว่าที่จะยกจริงให้เท่ากับน้ำหนัก load test
-ปั้นจั่น ที่หยุดการใช้งานตั้งแต่ ๖ เดือนขึ้นไป หรือปั้นจั่นที่มีการซ่อมแซมที่มีผลต่อความปลอดภัยของปั้นจั่น ก่อนนำ มาใช้งานใหม่จะต้องจัดให้มีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) การทดสอบการรับน้ำหนัก
(ก) ปั้นจั่นใหม่ ก่อนจะนำมาใช้งานให้ทดสอบการรับน้ำหนักดังนี้
๑) ขนาดไม่เกิน ๒๐ ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ ๑ เท่า แต่ไม่เกิน ๑.๒๕ เท่า ของพิกัดยกอย่างปลอดภัย
๒) ขนาดมากกว่า ๒๐ ตัน แต่ไม่เกิน ๕๐ ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักเพิ่มอีก ๕ ตัน จากพิกัดยกอย่างปลอดภัย
(ข) ปั้นจั่นที่ใช้งานแล้ว ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ ๑.๒๕ เท่าของน้ำหนัก ที่ใช้งานจริง สูงสุดโดยไม่เกินพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด กรณีไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยที่ผู้ผลิต กำหนด ให้ทดสอบการรับน้ำหนักตามที่วิศวกรกำหนด