ตรวจสอบบันไดหนีไฟ

การตรวจสอบและตรวจวัดประสิทธิภาพประตูหนีไฟระบบอัดอากาศในช่องบันไดหนีไฟ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่องทางหนีไฟให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐาน

การตรวจสอบและตรวจวัดประสิทธิภาพประตูหนีไฟระบบอัดอากาศในช่องบันไดหนีไฟ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่องทางหนีไฟให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานกำหนดดังนี้

กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
ข้อ 22 อาคารสูงต้องมีบันไดหนีไฟจากชั้นสูงสุดหรือดาดฟ้าสู่พื้นดินอย่างน้อย 2 บันได ตั้งอยู่ในที่ที่บุคคลไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใดของอาคารสามารถมาถึงบันไดหนีไฟได้สะดวก แต่ละบันไดหนีไฟต้องอยู่ห่างกันไม่เกิน 60.00 เมตร เมื่อวัดตามแนวทางเดินระบบบันไดหนีไฟตามวรรคหนึ่งต้องแสดงการคำนวณให้เห็นว่า สามารถใช้ลำเลียงบุคคลทั้งหมดในอาคารออกนอกอาคารได้ภายใน 1 ชั่วโมง
ข้อ 23 บันไดหนีไฟต้องทำวัสดุทนไฟและไม่ผุกร่อน เช่น คอนกรีตเสริมเหล็กเป็นต้น มีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร ลูกนอนกว้างไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร และลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร มีชานพักกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร และมีราวบันไดอย่างน้อยหนึ่งด้านห้ามสร้างบันไดหนีไฟเป็นแบบบันไดเวียน
ข้อ 24 บันไดหนีไฟและชานพักส่วนที่อยู่ภายนอกอาคารต้องมีผนังด้านที่บันไดพาดผ่านเป็นผนังกันไฟ
ข้อ 25 บันไดหนีไฟที่อยู่ภายในอาคาร ต้องมีอากาศถ่ายเทจากนอกอาคารได้ แต่ละชั้นต้องมีช่องระบายอากาศที่มีพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่า 1.4 ตารางเมตร เปิดสู่ภายนอกอาคารได้ หรือมีระบบอัดลมภายในช่องบันไดหนีไฟที่มีความดันลมขณะใช้งานไม่น้อยกว่า 3.86 ปาสกาลเมตร ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติเมื่อ เกิดเพลิงไหม้ และบันไดหนีไฟที่ลงสู่พื้นของอาคารนั้นต้องอยู่ในตำแหน่งที่สามารถออกสู่ภายนอกได้โดยสะดวก
ข้อ 26 บันไดหนีไฟที่อยู่ภายในอาคารต้องมีผนังกันไฟโดยรอบ ยกเว้นช่องระบายอากาศ และต้องมีแสงสว่างจากระบบไฟฟ้าฉุกเฉินให้มองเห็นช่องทางได้ขณะเพลิงไหม้ และมีป้ายบอกชั้นและป้ายบอกทางหนีไฟที่ด้านในและด้านนอกของประตูหนีไฟทุกชั้นด้วยตัวอักษรที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยตัวอักษรต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า 10 เซนติเมตร
ข้อ 27 ประตูหนีไฟต้องทำด้วยวัสดุทนไฟ เป็นบานเปิดชนิดผลักออกสู่ภายนอกพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ชนิดที่บังคับให้บานประตูปิดได้เอง มีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า 1.90เมตร และต้องสามารถเปิดออกได้โดยสะดวกตลอดเวลา ประตูหรือทางออกสู่บันไดหนีไฟต้องไม่มีชั้นหรือธรณีประตูหรือขอบกั้น

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ข้อกำหนดการป้องกันอัคคีภัย เล่ม 6 ระบบอัดอากาศเพื่อควบคุมควันไฟ
1.วัดและบันทึกความดันแตกต่างระหว่างภายในและภายนอกช่องบันไดหนีไฟที่ประตูหนีไฟปิดอยู่ต้องไม่น้อยกว่า 38 Pa และ ไม่น้อยกว่า 12.5 Pa กรณีที่ชั้นติดกับประตูที่เปิด
2.การทดสอบแรงผลักประตูหนีไฟ แรงกระทำเพื่อปลดสลักประตูหนีไฟต้องไม่เกิน 67 N และแรงผลักจนเปิดแระตูสุดต้องไม่เกิน 133 N
3. ความเร็วของอากาศในช่องท่อหรือช่องลมสำหรับระบบอัดอากาศต้องไม่เกิน 12.5 m/s
4.ความเร็วของอากาศที่จ่ายออกจากช่องท่อหรือท่อลมสำหรับระบบอัดอากาศ ต้องไม่เกิน 7.5 m/s
5. ความเร็วของลมที่ผ่านออกทางประตูหนีไฟชั้นที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ขณะที่ประตูเปิด ต้องไม่น้อยกว่า 0.8 m/s เพื่อป้องกันควันย้อนกลับ แต่ความเร็วของลมไม่ควรเกิน2 m/s เพื่อไม่ให้เป็นการเติมออกซิเจนเข้าในอากาศมากเกินไป